ประกันตัว ผู้ต้องหา หรือ จำเลย ด้วย ประกันอิสรภาพ อีกหนึ่งตัวเลือกประกันภัยที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ให้จำเลยในคดีอาญาได้มีอิสรภาพจากการควบคุมระหว่างการดำเนินคดี โดยสามารถใช้หนังสือรับรอง จากบริษัทประกันภัยเป็นหลักประกันยื่นแก่เจ้าพนักงานในศาลและจะได้รับการปล่อยตัวทันที เชื่อว่าหลายๆ คน อาจยังไม่รู้จัก หรือคุ้นเคยกับ ประกันอิสรภาพ เท่าไหร่นัก
รู้ไว้ไม่เสียหายเพื่อเป็นประโยชน์ หากเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับบุคคลใกล้ชิดหรือตัวคุณเอง
ประกันภัยอิสรภาพคืออะไร? มีกี่ประเภท? รายละเอียดเบี้ยประกันต่างๆ
ประกันอิสรภาพ คือแนวคิดที่คิดขึ้นโดยศาลยุติธรรม อธิบายได้ว่า เมื่อประชาชนซื้อกรมธรรม์แล้ว ทางบริษัทประกันภัยจะเป็นผู้ออกหนังสือรับรองให้แก่ผู้เอาประกัน หากผู้เอาประกันกระทำความผิดหรือตกเป็นผู้ต้องหาในระยะเวลาที่ทำประกัน ผู้เอาประกันสามารถใช้หนังสือรับรองยื่นแก่ผู้มีอำนาจตัดสินประกันตัวในคดีอาญา โดยหนังสือรับรองนี้ เทียบได้กับเงินค้ำประกันหรือหนังสือค้ำประกันจากธนาคาร
ประกันภัยอิสรภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท รายละเอียดดังนี้
1. ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำผิด
เมื่อบุคคลทั่วไปที่มีความเสี่ยงในการกระทำผิดคดีอาญา จึงต้องการมีหลักประกันเพื่อประกันตัวล่วงหน้า ประเภทนี้จะให้ความคุ้มครองในกรณีผู้เอาประกันตกเป็นผู้ต้องหาหรือถูกดำเนินคดีอาญาฐานจากการทำผิดโดยประมาท โดยบริษัทประกันภัยจะทำหนังสือรับรองตามจำนวนเงินที่เอาประกันพร้อมกรมธรรม์เพื่อใช้เป็นหลักประกัน
*หมายเหตุ : ถ้าผู้เอาประกันเคยกระทำผิดและได้ใช้หนังสือรับรองไปเรียบร้อยแล้ว สามารถขอหนังสือรับรองฉบับใหม่ได้ในกรณีที่ยังไม่เต็มวงเงินประกันตัว
ระยะเวลาในการคุ้มครอง
- ตามที่ระบุในกรมธรรม์ หรือ จนกว่าจะสิ้นสุดคดี
เบี้ยประกันภัย
- อัตราเบี้ยประกันภัย ระหว่าง 0.5%-1% ของจำนวนเงินเอาประกัน ขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของผู้เอาประกัน
- 100,000 บาท เบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายคือ 500-1,000 บาท
2. ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำผิด
เมื่อตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญาในทุกลักษณะฐานความผิด ไม่ว่าจะกำลังถูกควบคุมตัวหรือถูกควบคุมตัวแล้ว หากต้องการหาหลักประกันมาประกันตัว สามารถติดต่อขอซื้อประกันอิสรภาพจากบริษัทประกันภัยได้
ระยะเวลาในการคุ้มครอง
- นับตั้งแต่ที่เริ่มประกันตัวจนศาลแต่ละชั้นมีคำพิพากษา (ศาลชั้นต้น, ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา) หรือจนกว่าจะสิ้นสุดคดี
เบี้ยประกันภัย
- อัตราเบี้ยประกันภัย ระหว่าง 5%-20% ของจำนวนเงินเอาประกัน โดยแบ่งตามชั้นศาลที่พิพากษาและฐานความผิด
- 100,000 บาท เบี้ยประกันภัยที่ต้องจ่ายคือ 5,000-20,000 บาท
รู้หรือไม่ ?
“เราสามารถลดเบี้ยประกันภัยได้ หากมีผู้ค้ำประกันต่อบริษัทจะได้รับส่วนลด 10% ของเบี้ยประกัน
และในกรณีที่มีหลักทรัพย์มาวางประกันร่วมจะได้รับการหักตามสัดส่วนของราคาหลักประกัน ”
“ไม่สามารถยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยในระยะเวลาประกันได้ ทั้งผู้เอาประกันและผู้รับประกัน”
เมื่อไหร่ที่จะได้รับเบี้ยประกันภัยคืน ?
ประเภทที่ 1 ประกันภัยอิสรภาพก่อนกระทำผิด
- จะได้รับเบี้ยประกันภัยคืนก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตโดยไม่มีการเรียกร้องให้ประกันตัว บริษัทประกันจะคืนเบี้ยให้ในอัตราระยะสั้นที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์
ประเภทที่ 2 ประกันภัยอิสรภาพหลังกระทำผิด
-
จะได้รับเบี้ยประกันภัยคืนก็ต่อเมื่อผู้เอาประกันที่ตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาเสียชีวิต โดยไม่ผิดสัญญาการประกันตัว บริษัทประกันจะคืนเบี้ยประกันครึ่งหนึ่ง
-
ในกรณีที่ผู้เอาประกันไม่ผิดสัญญาจนกระทั่งสิ้นสุดระยะเวลาประกัน บริษัทประกันจะคืนเบี้ย 20%
-
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่ยินยอมให้ประกันตัว บริษัทประกันจะต้องคืนเบี้ยประกันเต็มจำนวนแต่หักค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ 500 บาท
-
ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ยินยอมให้ประกันตัว แต่มีคำสั่งถอนการประกันตัวภายหลัง หรือในกรณีที่ผู้เอาประกันไม่ต้องการให้ประกันตัว บริษัทประกันจะคืนเบี้ยประกัน 20%
และนี่คือ
ประกันอิสรภาพ ที่จะช่วยเหลือบุคคลที่เสี่ยงหรือมีโอกาสกระทำความผิดและผู้ตกเป็นผู้ต้องหาในคดีอาญา การวางแผนประกันตัวเป็นสิ่งสำคัญควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทประกันที่น่าไว้วางใจ หากท่านใดสนใจประกันภัยอิสรภาพ หรือ ประกันภัยชนิดอื่นๆ สามารถติดต่อบริษัทไทยพัฒนาประกันภัยได้ที่นี่ http://www.thaipat.co.th/Contact/General-Enquiry.aspx บริการประกันภัยที่หลากหลายให้คุณเลือกคุ้มครอง